santiphap inkong-ngam
สันติภาพ อินกองงาม (เกิด 1973, ลำพูน) ศิลปิน นักทำหนังและศิลปินภาพเคลื่อนไหว ขณะนี้เขาพำนักและเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สันติภาพจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มศึกษาและเรียนรู้เทคนิคการทำงานด้วยตัวเองก่อนที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นศิลปินอิสระเชิงทดลองบนสื่อภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหวอย่างเต็มตัว โดยสันติภาพนำเสนอภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับชนชายขอบของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็น ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ นักบวช ฯลฯ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของสันติภาพในการเข้าร่วมและหลายครั้งเป็นผู้ริเริ่มโปรเจคเชิงวัฒนธรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่จะสร้างความตระหนักรู้ต่อปัญหาทางสังคมที่มีอยู่ในหลาย ๆ ระดับ
สันติภาพพูดถึงผลของสังคมเมืองที่มีต่อประชากรชายขอบผ่านผลงานที่ขับเน้นวิถีชีวิตและความเชื่อของกลุ่มคนเหล่านั้น zomia’s song ผลงานภาพถ่ายสองชิ้นที่ยังคงเน้นย้ำเรื่องดังกล่าวในคืนวันที่การกดทับจากรัฐที่มีต่อประชากรบนโซเมียยิ่งทวีความหนักหน่วง สันติภาพเรียกชนเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง คะฉิ่น รวมถึงเผ่าอื่น ๆ ว่า โซเมีย อันเป็นคำศัพท์ทางภูมิศาสตร์ที่ใช้เรียกพื้นที่ที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 เมตรเป็นต้นไป อันครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางรวมถึงเอเชียอาคเนย์ต่อเนื่องไปยังอินเดีย ผลงานของสันติภาพกำลังพูดถึงสถานการณ์ของการยืนหยัดต่อรัฐด้วยความไร้รัฐ การยืนหยัดต่อประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรมด้วยความเชื่อทางจิตวิญญาณ ด้วยการนำเสนอต่อผู้ชมผ่านจิตแห่งชาติพันธุ์ทั้งสอง
santiphap inkong-ngam (born 1973, lamphun province) is an artist, filmmaker, and visual artist. he currently lives and works as a special instructor at chiang mai university, where he also completed his undergraduate studies at the faculty of fine arts. he began his artistic journey by studying and developing techniques by himself, before fully stepping into the role of an independent experimental film and motion pictures artist. santiphap’s films usually revolve around the topic of minorities who live on the edges of thai society, be they ethnic minorities, monks, etc. these works reflect santiphap’s own passion in participating in - and many times taking the lead - on cultural projects that encourage creative learning, which in turn will foster a wider awareness of issues that exist in the various levels of society.
santiphap discusses the influence a metropolitan society has on those living on its edges through works that emphasize the ways of life and beliefs of those individuals. zomia’s Song is a pair of photographs that continue to underline this subject matter, as the state’s oppression of the people of zomia seems to intensify by the day. santiphap refers to the various ethnic groups such as Karen, Mong, Kachin, and others collectively as Zomia, which is a geographical term used to refer to land that is at least 300 meters above sea level that covers the wider southeast asian region and India. the work draws attention to the struggle against the state through statelessness and the stand against cultural constructs through spiritual faith by presenting itself to audiences through the minds of both minorities.
46 atsadathorn road
pa ton muang
chiang mai
50300
thailand