top of page

84 Years of Charoon Boonsuan

19 NOV 2022 - 19 FEB 2023

จรูญ บุญสวน: สวนลึกลับในโลกแห่งความจริง

 

ย้อนกลับไปในความทรงจำ ความฝันที่อยากจะเป็นนักวาดภาพฉากลิเกในวัยเด็ก ผลักดันให้ จรูญ บุญสวน ได้ก้าวเข้าสู่การศึกษาศิลปะอย่างเข้มข้นจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2501 ในปลายยุคสมัยที่ ศ. ศิลป์ พีระศรี ยังเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้โดยตรง อีกทั้งยังเป็นยุคที่ศิลปะสมัยใหม่แบบตะวันตกส่งอิทธิพลให้กับนักศิลปะของไทยอย่างเข้มข้น แต่สำหรับเส้นทางของจรูญ นอกจากการเรียนตามตำราแล้ว จิตรกรอาชีพมีชีวิตเพื่อศึกษาสังเกตโลกภายนอกด้วยความคิดและประสบการณ์ของตัวเอง กล่าวคือ จรูญต้องอยู่อาศัยกับสภาพแวดล้อมที่ห้อมล้อมไปด้วย อุณหภูมิแสงแดดที่เปลี่ยนแปลง กลิ่นอายในชั้นบรรยากาศ สีสันที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

นิสัยของการเป็นคนช่างสังเกตและความหมั่นเพียรจึงเป็นคุณสมบัติสำคัญสำหรับจิตรกรที่ศึกษาภาพทิวทัศน์อย่างจริงจัง  ความเหมือนจริงไม่ใช่ประเด็นของการวาดภาพ แต่แรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ศิลปินสามารถตีความ การจัดวางตำแหน่ง ลำดับของสีที่มีความสลับซับซ้อน ครั้งหนึ่ง อ. เฟื้อ หริพิทักษ์ เคยกล่าวกับจรูญครั้งยังเป็นนักศึกษาว่า การวาดภาพมีสองอย่าง อย่างแรกคือการวาดภาพขึ้นมาด้วยความคิดของตัวเอง อย่างที่สองคือต้องมีแบบอยู่ตรงหน้าและจิตรกรจะเป็นผู้จัดการสิ่งที่อยู่ตรงหน้าด้วยความคิด และจากคำแนะนำของ อ. ศิลป์ พีระศรี ที่มองเห็นว่า จรูญ สามารถเป็นจิตรกรชั้นเยี่ยมได้เพียงเขาได้มองสีผ่านทิวทัศน์ตรงหน้า การชี้แนะสำคัญของบุคคลทั้งสองนี้แสดงให้เห็นถึงการมองลูกศิษย์อย่างทะลุปรุโปร่ง และได้กลายเป็นเส้นทางของจรูญที่ทำให้เขาออกเดินทางในโลกของจิตรกรรมมาจนถึงชีวิตในวัย 84 ปีสิ่งที่อยู่ตรงหน้าขณะวาดภาพแท้จริงไม่ได้มีอยู่เพื่อให้คัดลอก ในทางตรงกันข้ามวัตถุหรือสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าของจิตรกร คือสิ่งที่ปรากฏสำหรับการวิเคราะห์ สังเกต และตีความ เมื่อจรูญเฝ้ามองจนเข้าใจ นั่นคือการเริ่มต้นของจิตรกรรมแต่ละชิ้นของเขา แม้แต่รงค์ วงสวรรค์ เองยังเอ่ยถึงจรูญว่าเป็นศิลปินที่วาดภาพด้วยการกลั่นกรองวัตถุที่อยู่ตรงหน้าออกมาเป็นชุดสีได้อย่างสลับซับซ้อน อัศจรรย์ 

ย้อนไปคิดถึงความประทับใจในฉากลิเกในวันนั้น จิตรกรรมก็เฉกเช่นเดียวกับฉากของชีวิต จิตรกรรมของเขาเปรียบได้กับพื้นที่ที่ดูราวกับจะสามารถใช้ความรู้สึกนึกคิดเข้าไปสำรวจได้ หลายคนไม่เคยทราบว่าครั้งหนึ่งจรูญเคยสร้างสรรค์งานนามธรรม (Abstract Painting) และสร้างสรรค์งานจิตรกรรมคิวบิสม์ (Cubism) จำนวนมาก แม้จะไม่ใช่แนวทางหลัก แต่ผลงานเหล่านั้นได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความชำนาญในด้านการใช้สีในระดับสูง อย่างไรก็ตามการกลับมาวาดภาพทิวทัศน์และหมู่ไม้ที่อยู่ใกล้ตัวก็ไม่ใช่เรื่องปกติที่ภาพวาดทิวทัศน์จะได้รับรางวัลในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ในยุคสมัยที่ความนิยมในรูปแบบศิลปะสมัยใหม่กำลังเบ่งบานโดยเฉพาะศิลปะนามธรรม คงไม่เกินเลยนักถ้าจะกล่าวว่า จรูญมีความเข้าใจในเรื่องสีที่อยู่นอกเหนือไปกว่าทฤษฎีที่ใช้สอนกันอยู่ทั่วไป

ผู้ที่ได้ชมผลงานของจรูญจะสัมผัสได้ถึงความซับซ้อนในการอธิบายธรรมชาติผ่านการใช้สีของเขา การได้รับการยอมรับอย่างสูงนี้จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ซึ่งจิตรกรรมของจรูญได้พิสูจน์ถึงความสำเร็จข้ามกาลเวลาโดยไม่จำเป็นต้องจำแนกว่าภาพวาดของเขาอยู่ในรูปแบบลัทธิทางศิลปะใดๆ เส้นทางของจิตรกรอาชีพที่ไม่มีเคยทางลัด มันคือการวาดภาพอย่างแทบไม่มีการหยุดพัก สังเกต วิเคราะห์ สีที่อยู่ในแสง ในวัตถุ และในความคิดของจิตรกร หลายสิบปีที่ผ่านมาทำให้เขาเป็นศิลปินคนหนึ่งที่มีความชำนาญในการใช้สีอย่างมีเอกลักษณ์ ทั้งเรียบง่ายและสลับซับซ้อน แม้ในส่วนมืดของภาพยังให้ความรู้สึกถึงอากาศที่ไหลเวียนได้ จิตรกรรมคือประตูสู่โลกใบใหม่ของ จรูญ บุญสวน ประตูบานนี้นำเราเข้าไปสู่ความเข้าใจทางสุนทรียภาพของสีอย่างลึกซึ้ง แม้เวลาจะผ่านไปหลายสิบปีประตูบานนี้ไม่เคยปิดลง

Charoon Boonsuan: A Mystical Garden in Reality 

 

Reflecting on the past, his youthful dreams of painting backdrops for Likay performances were the catalyst the pushed Charoon Boonsuan to pursue serious training in art at the Faculty of Paintings, Sculptures, and Graphic Arts, Silpakorn University in 1958. Charoon was fortunate enough to have enrolled when renowned master Silpa Bhirasri was still present to impart his wisdom in person, a period when Thai students were also heavily influenced by modern Western works. For Charoon, besides his formal studies, the career artist also lived to observe the world around him, as much as his own inner thoughts and experiences. In other words, Charoon exists within an atmosphere surrounded by constantly fluctuating sunlight and temperatures, scents, and colors.

 

His observant nature and diligence are two crucial characteristics for a painter who seriously studies landscapes. Realism isn’t the objective of the painting, with inspiration and creativity being indispensable tools that allow Charoon to interpret and compose a painting with complex color palettes. One time during his time as a student, master artist Fua Haripitak once said to Charoon that there are two types of painting: painting something from your imagination, and painting something that exists in front of you, with the painter managing what they see with their thoughts. Furthermore, Silpa Bhirasri himself saw potential for Charoon to become a great artist, if only he learned to see colors through the landscapes in front of him. The words of guidance from these two figures displayed their thorough insight into their student, and has allowed Charoon to journey through the world of paintings up until his 84th year of age. What exists in front of you isn’t there to be copied; on the contrary, the objects or locations in front of an artist are things to be observed, analyzed, and interpreted. Once Charoon has achieved an understanding, then he can begin each of his paintings. Even Rong Wongsawan once referred to Charoon as an artist who distills whatever is in front of him intil complex and wondrous color palettes.      

 

Looking back upon his infatuation with Likay backdrops all those years ago, one realizes that paintings are like the backdrop of life. Charoon’s paintings are akin to spaces that can be explored by the mind. Few realize that Charoon once created numerous works of abstract art and cubism paintings. Even though they were not his prime focus, these works are proof of Charoon’s high level of expertise in utilizing colors. However, his return to painting the surrounding natural environment came at a time when it was unusual for such paintings to win awards on a national level, particularly when more contemporary forms of art were becoming more and more popular, especially abstract art. It wouldn’t be an overstatement to say that Charoon had an understanding of subjects beyond the theories commonly taught in classrooms.   

 

Those who have had the fortune of seeing Charoon’s works can sense his elaborate explanations of nature through his use of colors. As such, the recognition he has garnered didn’t come by chance, with Charoon’s paintings proving his timeless success, with no need to identify the genre or school of painting. The painter’s life did not have any short cuts; it is the result of constant, tireless observation and analysis of the colors in light, objects, and ideas alike. The decades of experience have made him one of the few artists capable of manipulating color in unique ways that are both simple and complex, with even the darker areas of the painting giving the impression of air currents flowing through the piece. Paintings are the door into Charoon Boonsuan’s new world, a door that will bring us towards a deep understanding of the aesthetics of color. And though the decades may pass, this door will forever remain open to all.

84-years-Poster.jpg
bottom of page