top of page

something old, something new, something borrowed and something blue 

 

นิทรรศการโดย 

 

อ้อมขวัญ สาณะเสน  Ormkwan Sanasen 

ชาติชาย สุพิณ  Chartchai Suphin 

จิรัชยา พริบไหว  Jiratchaya Pripwai 

ปาตาเพียร  PATAPiAN 

และ นพนันท์ ทันนารี  Noppanan Thannaree 

 

23 JUL – 23 OCT 2022 

 

นิทรรศการ something old, something new, something borrowed and something blue ว่าด้วยความหมายของความ 
โรแมนติกและบรรยากาศที่นำไปสู่การรับรู้อย่างโรแมนติก โดย   อ้อมขวัญ สาณะเสน   ชาติชาย สุพิณ   จิรัชยา พริบไหว    
ปาตาเพียร  และ  นพนันท์ ทันนารี  ที่ผลงานจะถูกจัดแสดงภายในนิทรรศการที่เลียนแบบความฟุ้งฝันของโศกนาฏกรรมความรักที่ไม่สมหวังอันลือเลื่องของ ขวัญ และ เรียม   

 

เป็นที่ประจักษ์ต่อความยิ่งใหญ่ของบทประพันธ์เรื่อง แผลเก่า โดย ไม้ เมืองเดิม จากการถูกหยิบเอามาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายครั้ง แต่บรรยากาศที่ถูกคงเอาไว้คือความน่าหลงใหลชวนให้ฝันถึงบรรยากาศชานเมืองบางกอก (กรุงเทพ ฯ)  
ที่วิถีชีวิตของผู้คนผูกโยงเอาไว้อย่างมากกับธรรมชาติและการเกษตร โครงเรื่องที่บรรยายถึงบรรยากาศเขตบางกะปิเอาไว้อย่างสวยงามและโรแมนติก ด้วยธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่สวยงามและการต้องพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต เปรียบให้เห็นลำดับความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติเมื่อเทียบกับมนุษย์  สิ่งนี้เชื่อมโยงถึงการบรรยายถึงบรรยากาศของความโรแมนติกที่เกิดขึ้นในยุโรปโดยนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส Denis Diderot ว่า all that stuns the soul, all that imprints a feeling of terror, leads to the sublime. สะท้อนความเชื่ออีกรูปแบบที่เป็นคู่ขนานกับยุคแห่งการตื่นรู้ด้วยภาพเขียนธรรมชาติอันโหดร้ายทารุณต่อมนุษย์ผู้อ่อนแอ ทั้ง J.W.M Turner John Constable และศิลปินอีกหลายท่าน โดยประเด็นที่น่าสนใจของการเชื่อมโยงด้วยความโรแมนติกนี้คือ โครงเรื่อง นิยายรักแสนเจ็บปวดที่เกิดจากความขัดแย้งของสองครอบครัว และการต้องเลือก ของทั้ง แผลเก่า โดย ไม้ เมืองเดิม และ Romeo & Juliet  โดย William Shakespeare ที่อาจมองได้ว่าการสร้างนวัตกรรมทางภาษาที่เรียกว่าความโรแมนติก โดย Shakespeare ในครั้งนี้ ได้ส่งอิทธิพลเข้ามาสู่ชาวไทยได้ไม่นาน แต่นับเป็นการสร้างความรับรู้ใหม่ทางภาษาครั้งยิ่งใหญ่และสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ 

 

นิทรรศการ something old, something new, something borrowed and something blue ต้องการหยิบฉวยช่องว่างที่เกิดขึ้นบนเวลาและพื้นที่ มาบรรจุเอาไว้ในพื้นที่นิทรรศการของจริงใจแกลเลอรี เพื่อให้ผู้ชมได้เข้ามาร่วมตรวจสอบการจำลองช่องว่างทางเวลาในพื้นที่สมมติแห่งนี้ร่วมกัน โดยอาศัยประสบการณ์ร่วมของผู้ชมกับความสัมพันธ์ที่ผิดหวัง หรือ สมหวัง ที่นับวันจะกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำอันพร่าเลือน เสริมให้เห็นบรรยากาศที่ชัดเจนขึ้นด้วยเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน และ บรรยากาศพื้นหลังที่เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้กับตัวละครเอก  ชาติชาย สุพิณ นำเสนอภาพเหมือนจากฉากตอนในภาพยนตร์แผลเก่าด้วยเทคนิคการเขียนงานจิตรกรรมเหมือนจริงด้วยสีอะครีลิคบนผ้าใบ ชาติชายตีความแง่มุมใหม่ผ่านการเขียนเหมือนจริง และผลงานจิตรกรรมของเขายังนับเป็นแนวความคิดเริ่มต้นในการบอกเล่าถึงความโรแมนติกในนิทรรศการครั้งนี้  เคียงข้างกันคือผลงานออกแบบเครื่องใช้จักรสานที่โดดเด่นด้วยการผสมผสานวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่และลวดทองเหลือง ทองแดง และ เงินนิกเกิล รูปทรงที่เรียบง่ายแต่เกิดจากการลดทอนรูปทรงที่น่าสนใจของธรรมชาติ และความละเอียดประณีตด้วยภูมิปัญญาเดิมของช่างฝีมือที่ทำงานร่วมกับ ปาตาเพียร นอกจากนี้นิทรรศการยังถูกปกคลุมเอาไว้ด้วยผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันภูมิทัศน์โดย นพนันท์ ทันนารี ที่เขายังคงระเบียบวิธีการทำงานเขียนนอกสตูดิโอเพื่อสังเกตและบันทึกแสงและสีธรรมชาติจากสถานที่จริง ยิ่งไปกว่านั้นนพนันท์ ยังทำการทดลองเกี่ยวกับสีและพู่กันที่เกิดจากวัสดุอื่น ๆ นอกเหนือจากสีและแปรงสำเร็จรูปอีกด้วย  จิรัชยา พริบไหว  สร้างผลงานปักผ้าที่ถ่ายทอดความรู้สึก และถ้อยคำที่เคยมีความหมายต่อเธอเอาไว้บนผ้าเช็ดหน้าทั้งสามผืนที่ถูกแขวนลอยในห้องนิทรรศการราวกับอดีตอันเจ็บปวดนั้นคือส่วนหนึ่งที่เธอโอบกอดเอาไว้ และผลงานชุดนี้ที่แม้จะแปลกตาแต่ยังคงเสน่ห์ของเธอเอาไว้อย่างเต็มเปี่ยม  อ้อมขวัญ สาณะเสน สร้างผลงานจัดวางจากดอกไม้แห้งและเตียงโบราณ บังสายตาเอาไว้ด้วยมุ้งที่ถูกแขวนเต็มโถงส่วนกลาง อ้อมขวัญถ่ายทอดความรักที่เจ็บปวดอันเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำด้วยดอกไม้แห้ง ที่คงรูปทรงและความงามเฉกเช่นเดิม ศิลปินต้องการเชิญชวนให้ผู้ชมได้เดินเข้าไปมีส่วนร่วมกับผลงาน ผ่านผืนผ้าที่แขวนประดับเอาไว้ ณ ที่ซึ่งเวลากำลังทำหน้าที่ย้อนเอาความทรงจำของผู้ชมออกมา  

 

หากมองพื้นที่บางกะปิ กรุงเทพฯ ในปัจจุบันที่ความเป็นเมืองรุกเข้าไปจนธรรมชาติลดบทบาทลงเหลือเพียงหน้าที่ประดับตกแต่ง บางกะปิ อาจเป็นภาพแทนของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมา ความโรแมนติกที่เคยถูกตีความด้วยความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ถูกกลบด้วยนิยามอื่น ๆ ที่สังคมหยิบยื่นให้ ผู้คนในเมืองยังคงโหยหาและมองเห็นความเรียบง่ายจากการมองหรือสัมผัสเพียงด้านเดียว คำถามหลักของนิทรรศการคือ นิยามความโรแมนติกในปัจจุบันถูกมองและเข้าใจอย่างไร และแตกต่างอย่างไรจากต้นกำเนิดที่เกิดจากความเบื่อหน่ายต่อความตื่นรู้ นอกจากนั้นแล้ว วรรณกรรมและศิลปะ ซึ่งเคยทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการเสนอภาพความโรแมนติกของยุคสมัย ณ เวลานี้แปรเปลี่ยนไปอย่างไร 

 

จริงใจแกลเลอรี ภูมิใจนำเสนอนิทรรศการกลุ่มที่ถ่ายทอดความโรแมนติก ซึ่งสะท้อนอย่างชัดเจนผ่านความสัมพันธ์เชิงความรัก กาลเวลาที่ผ่านไปทำให้ภาพความเปลี่ยนแปลงชัดเจนขึ้น จนเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของนิทรรศการ something old, something new, something borrowed and something blue ในครั้งนี้ ที่อยากเชิญชวนผู้ชมให้เข้ามาร่วมสนทนาถึงช่องว่างที่เกิดขึ้นและยังดำเนินต่อไปตราบเท่าที่แสงยังคงเดินทาง นิทรรศการเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 23 ตุลาคม 2565 ทุกวันอังคาร ถึง วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 18.00 น. วันเสาร์ และ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 18.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์) เข้าชมฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ จริงใจแกลเลอรี ภายในโครงการจริงใจมาร์เก็ต ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล

----------------------------

something old, something new, something borrowed and something blue  

 

Exhibition by 

 

Ormkwan Sanasen  

Chartchai Suphin  

Jiratchaya Pripwai  

PATAPiAN  

and Noppanan Thannaree  

 

23 JUL – 23 OCT 2022  

 

The something old, something new, something borrowed and something blue exhibition takes a look at the definition of romance, and the atmospheric conditions that allow us to feel it, featuring the works of Ormkwan Sanasen, Chartchai Suphin, Jiratchaya Pripwai, PATAPiAN, and Noppanan Thannaree. The exhibition space is designed to mimic the delusional nature of the famous tragic love story of Kwan and Riam.  

 

The prominence of author Mai Muangderm’s literary work ‘Plae Kao’ (Scars) is a well-established fact, with numerous film and television adaptations of the story produced over its decades-long history. One defining aspect featured in all of these adaptations is the dreamy atmosphere of suburban Bangkok, when the lives of people were closely intertwined with nature and agriculture. The original story included a beautifully and romantically written description of the Bangkapi area, telling of the grandeur of nature, and those whose lives depend on the abundance it provides, illustrating the true importance of nature compared to humanity. This sentiment can also be connected to the accounts of the romantic ambience in Europe by French philosopher Denis Diderot, who said that “all that stuns the soul, all that imprints a feeling of terror,  leads to the sublime”, a reflection of the beliefs that ran parallel with the Age of Enlightenment with nature illustrated as cruel and ruthless towards the fragile humans, such as the world of J.W.M. Turner, John Constable, etc. Another intriguing aspect regarding this romantic link is the sorrowful narrative borne from the conflict between two families, as well as the choice that inevitably follows, both in Mai Muengderm’s Plae Kao, and in William Shakespeare’s Romeo & Juliet, both of which can be raised as examples of linguistic innovations in terms of romance. While Thai people may not have studied the works of Shakespeare for long, the arrival of his works marked the pivotal emergence of new poetic sensibilities. 

 

The something old, something new, something borrowed and something blue exhibition aims to leverage the vacuum that occurs in time and space. Containing it within the exhibition area of Jing Jai Gallery allows audiences to take part in examining this temporal void in this simulated space together, drawing upon the shared experiences of failed or successful relationships that are perpetually fading into opaque memories. The overall feeling is enhanced by the tools of daily life, and the background mood that is no less crucial than the main characters themselves. Chartchai Suphin presents sketches of various scenes from the film adaptation of Plae Kao, drawn using photorealistic acrylic painting techniques on canvas. Chartchai interprets the scene from a new perspective through his illustrations, with his works acting as the conceptual catalyst of this entire exhibition. Beside his works stands a basket weaving machine, notably made of natural materials such as bamboo wood, brass, copper, silver, and nickel; a simplistic form achieved through the parsing down of natural shapes, based on the local knowledge of the craftsmen who collaborated with PATAPiAN. The entire exhibition is also covered with the oil-color paintings of Noppanan Thannaree, who maintains his working process of painting outside his studio in order to record the natural colors and lighting of the original location. Furthermore, Noppanan also experiments with paints and brushes from alternative materials beyond those used commercially. Jiratchaya Pripwai expresses the words and phrases that held meaning for her, embroidering them onto three handkerchiefs that are hung throughout the exhibition space, resembling the painful memories she still holds on to, an eccentric work that still maintains the artist’s signature charm. Meanwhile,  Ormkwan Sanasen has created a classical arrangement of flowers and a bed, lightly veiled by the netting strung all across the exhibition area. Ormkwan uses dried flowers to convey the pain of failed love, dwindling into mere memories while still maintaining their form and original beauty. The artist invites audiences to immerse themselves into the work through the lingering fabric, where time can work to bring forth the recollections of the audience.  

 

Looking at the Bangkapi area of Bangkok today, where urbanization has pushed back nature, reducing it to mere decoration, Bangkapi may be considered a representation of the constant changes that have been occurring all along. The romance once defined by the grandiosity of nature has become muddled by new interpretations put forth by society, while those who live in cities pursue the ease of seeing or experiencing things from one perspective. The main question posed by this exhibition is how romance is seen and understood today, and how it differs from its roots, borne from the weariness of literary comprehension. And how has art, which has once played the role of giving form to the romance of each era, been changed?  

 

Jing Jai Gallery proudly presents this group exhibition, which aims to present the apparent romance reflected through love and relationships. The passing of time further reinforces this image of change, coalescing into the ‘something old, something new,  something borrowed and something blue’ exhibition today, which invites audiences to discuss the vacuum that is created, and will still persist as long as light continues to travel. The exhibition will be available from the 23rd of July till the 23rd of October, Tuesdays till Fridays between 10:00 AM and 6:00 PM (8:00 AM - 6:00 PM on weekends, closed Mondays). Entry is free, with an opening ceremony to be held on the 30th of July, 2022,  5:00 PM, at the Jing Jai Gallery, allocated in Jing Jai Market by Central Group. 

Something-Poster-A4-ok-1.jpeg
bottom of page