top of page

the lost supper supper club 

22 กรกฎาคม – 22 ตุลาคม 2566 

นิทรรศการ โดย Alwin Reamillo 

the lost supper supper club นิทรรศการแสดงเดี่ยว โดย อัลวิน รีอามิลโล มีจุดหมายเพื่อช่วงชิงเวลาไปจากผู้ชมแล้วนำพาไปสู่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์ที่ศิลปินคลี่คลายเงื่อนปมที่แฝงอยู่ในเส้นทางเวลาอันยาวนานกว่า 500 ปี อัลวิน เพ่งมองทะลุเกราะอันแข็งแกร่งที่ผู้คนชาวฟิลิปปินส์สวมใส่เพื่อห่อหุ้มตัวตนที่คล้ายแข็งแกร่งอย่างผิดรูปจากผลกระทบของการเป็นผู้ถูกครอบครองในยุคอาณานิคมที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ผลงานของอัลวินทำงานโดยตรงต่อความคิดของผู้ชม ผ่านวิธีการเล่าอย่างมีระบบความคิดแบบนักเล่าที่เป็นนักตั้งคำถามชั้นเยี่ยมที่จะพาเราไปสู่จุดที่ลึกที่สุดของประวัติศาสตร์สมัยใหม่อันยาวนานผ่านผลงานทุก ๆ ชิ้นในนี้นิทรรศการครั้งนี้ 

 

พื้นที่ทุก ๆ ตารางนิ้วภายในนิทรรศการ ถูกปกคลุมไปด้วยเรื่องราวชั้นแล้วชั้นเล่าของอิทธิพลอาณานิคมที่ซ่อนเร้น ซ่อนแอบ หลบซ่อน เอาไว้ในรูปแบบ รูปทรง รูปร่าง หรือแม้แต่หน้าตาที่ดูคุ้นเคย เทียบเท่าได้กับเศษซากที่ยังคงเร้นหรืบอยู่ในฟิลิปปินส์ตราบ ณ ปัจจุบัน อัลวันที่จดจำ เจ็บปวด จงใจถ่ายทอด และ สะท้อนผ่านผลงานชุด 14 stations of the cross ในรูปแบบของกล่องไม้ขีดไฟจำนวน 14 กล่อง ที่ติดตั้งตลอดพื้นที่นิทรรศการ แต่ละกล่องแบกเอาเรื่องราวคำบอกเล่าของพระคัมภีร์ไบเบิ้ลถึงวันที่เยซูถูกตรึงกางเขนในฐานะของกบฏของศาสนจักร อัลวิน จงใจให้การเวียนเดินในพื้นที่นิทรรศการเป็นไปตามเข็มนาฬิกา ร่วมเริ่มต้นไปจนถึงเหตุการณ์สุดท้ายที่ชีวิตเยซูจบลงบนไม้กางเขน เพื่อวางโครงสร้างชั้นร่างของเรื่องราวอิทธิพลของยุคอาณานิคมผ่านรูปทรงของคริสศาสนาและศาสนจักร ศิลปินเสริมต่อศิลปวัตถุพยาน คละขนาดเล็กใหญ่ปะปนกันราวกับให้ชิ้นงานเหล่านั้นแย่งชิงพื้นที่ความสนใจเพื่อบอกเล่าถึงความเป็นมาที่ดำเนินอยู่ อัลวิน รีอามิลโล ถมพื้นที่ว่างของ jing jai gallery ด้วยภาษาภาพเพื่อชี้ให้เห็นการมีอยู่ของข้อมูล เหตุการณ์ รวมถึงเรื่องราวที่มีผู้คนในฟิลิปปินส์ร่วมเป็นเจ้าของ   

 

ถ้าหากในทุก ๆ อนูของพื้นที่ของความสนใจของผู้คนในยุคทันสมัย พวกเราต่างเวียนว่ายอยู่ใน flux ที่เชี่ยวกรากด้วยข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราว มิหนำซ้ำร่วมเป็นส่วนหนึ่งในฐานะผู้ผลิตซ้ำ ผู้สร้าง หรือ แม้แต่ผู้คัดลอกส่งต่อ ให้เกิดการล้นทะลักที่ไม่รู้ว่าจะจบลงอย่างไร ผลงานของอัลวินจึงนับเป็นมณฑลหนึ่งที่ให้ที่ทางแก่เรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเวลากว่า 500 ปีในประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ที่เกี่ยวโยงกับชาติมหาอำนาจของโลก การล่าอาณานิคมทางภูมิศาสตร์และทางความคิด อัลวินกำลังระบุถึงวิกฤตการการถูกกดทับด้วยอารยธรรมสมัยใหม่ การผลิตซ้ำสิ่งที่มีอยู่ที่เติบโตไปเป็นสิ่งที่เข้ามาครอบงำวิธีคิดทั้งการศึกษา ร้านอาหารสัมปทานสูตรมากสาขาทั่วโลก ภาษา รสนิยม รูปลักษณ์ภายนอก และรูปลักษณ์ความคิด ฯลฯ เขาสร้างชิ้นงานขึ้นจากการตั้งคำถามอันสมบูรณ์ต่อวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่แผ่ขยายออกไปทั่วโลกผ่านด้วยการส่งต่อ การผลิตซ้ำ และการคัดลอก จนเกิดเป็นภาพแทนของทั้งบุคคล การบริโภค และสื่อที่ปรากฏในยุคปัจจุบัน เขาทวงถามต่อไปในระดับที่ลึกในเชิงความคิดถึงการครอบงำด้วยวิถีและวิธีปฏิบัติ เขายกกรณีตัวอย่างด้วยการตั้งคำถามเชิงวิพากย์ต่อวิธีการเขียนภาพอย่างจิตรกรรมที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นวิถีปฏิบัติอย่างยิ่ง โดยการเลือกวิธีการทำงานผ่านการถ่ายโอน (transfer) ข้อมูลจากกระดาษลงสู่วัสดุของชิ้นงานโดยตรงด้วยภาพข้อมูลที่พบได้ตามเครือข่ายออนไลน์โดยทั่วไป  

 

ตัวอย่างเล็ก ๆ นี้สะท้อนจักรวาลการบริโภคที่ความมั่งคั่ง และมั่นคงอย่างยิ่ง ชนชั้นแต่ละชนชั้นที่ช่องว่างถูกแช่แข็งด้วยความพอดิบพอดีของสวัสดิการรัฐที่แจกจ่ายมาให้ ความภาคภูมิใจในการเป็น การคิด และการได้เชื่อ รวมถึงความภาคภูมิใจนี้เองก็ยังถูกออกแบบมาอย่างเป็นระบบ เปรียบถึงสิ่งที่ Christopher Crouch พูดถึงความแยบคายในการซ่อนแอบของแนวคิดแปลกปลอมที่ถูกป้อนมาให้ราวกับเป็นปูที่คอยแอบพรางอยู่ใต้แนวหินแน่นิ่งและคอยย้ายไปซ่อนตัวในพื้นที่อื่น ๆ ที่ยากจะสังเกตเห็นสำหรับคนทั่วไป หรือแท้จริงแล้วสถานะของอำนาจที่กำลังดำเนินอยู่อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบของสัตว์แปลกปลอมอีกต่อไป หากแต่มันเกิดการเรียนรู้ ปรับตัว และอาศัยอยู่ในร่างของเจ้าบ้านราวกับเป็นเชื้อโรคทางวัฒนธรรม สร้างความสวยงาม แต่กลับกลืนกัดกินร่างกายอย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีอาการปรากฏให้เห็น

 

 

the lost supper supper club

22 july - 22 october 2023

a solo exhibition by alwin reamillo

The lost supper supper club is a solo exhibition by artist Alwin Reamillo. The exhibition aims to take audiences on a trip back through time to experience the history of the Philippines, with the artist peeling back the veneer of 500 years of history to examine the fault lines within. Alwin is able to penetrate the seemingly tough exterior Filipinos have constructed to protect themselves, a facade that is challenged as the influences of being a colonized nation continue to make themselves known time and again. Alwin’s work, working directly with the audiences’ thoughts, thus brings us to the deepest part of a long period of contemporary history through each and every piece featured in the exhibition.

Every square inch of the exhibition space is covered by the layered traces of colonization that are hidden or  concealed in a familiar shape, form, or feature. These traces are comparable to shards of shrapnel still embedded within the Philippines today. Alwin, as someone who remembers that pain, deliberately expresses and reflects these concepts through the work 14 stations of the cross in the form of 14 matchboxes installed throughout the exhibition space. Each box bears verses from the Bible that tell of the day Jesus Christ was crucified as an enemy of the church. The artist purposefully arranged the works so audiences would experience each work in a clockwise order denoted by the 14 stations of the cross, ending with the death of Christ upon the cross. This is done to lay a foundation for an examination of colonialism in the form of Christianity and the Church. Alwin reinforces these concepts with artistic pieces of evidence of various shapes and sizes, scattered across the space as if to try and draw the audience’s attention away from the works, a metaphor for the current status quo. Alwin has also filled the empty spaces within the exhibition area with visual language and numerous objects meant to point out the existence of information, events, and stories that all Filipinos share ownership over. 

For the contemporary person, every moment of attention is spent braving the rapid tides of data and information. Furthermore, we ourselves are complicit as creators, redistributors, or even counterfeiters that copy, paste, and distribute information with no end in sight. As such, Alwin’s work is like a little sanctuary that gives a space to all that has happened throughout the last 500 years of Philippines history, which is also tied to those global  superpowers responsible for the era of colonization in both the geographic and cultural sense. Alwin is directly referencing the issue of oppression under the new paradigm of civilization, the reproduction of existing things to the point that they take over our thinking, education, food, language, tastes, appearance, mode of thinking, etc. He created this work based on the complete questioning of modern culture that has spread around the world thanks to the broadcasting, recreating, and copying, leading to a similar profile for individuals, consumption, and media of today.

 

The artist probes even further, touching on subjects of mental colonization through cultural values and expressions. The artist raises a comparative case study by analytically questioning the conventional method of painting commonly accepted as the best practice, using a technique of transferring information from paper  directly onto the work, using visual information commonly found on various online networks.

This small example reflects a universe of consumption where wealth, security, and the gap between social classes is maintained through careful social subsidy programs offered by the government. The dignity of existing, thinking, and even believing have been systematically encouraged by design, as written by Christopher Crouch, which discusses the constant secretion of aberrant ideas much like a crab that lies camouflaged among the reefs, only to scurry to hiding spots that are all but invisible to the human eye. Or, perhaps, the power shifts currently occurring aren’t coming in the form of an invading species, but are instead a learning and adapting parasite residing in the host body like a cultural disease; outwardly beautiful, but also consuming the host body from within all the while. The Philippines will become a case study in reclaiming a national identity after existing under the influence of  colonization for the past 500 years, as the shattered soul of the Philippine nation is swept away to unknown shores.

areamilloprotrait
bottom of page