top of page

spirit atlas 

นิทรรศการ โดย

สันติภาพ อินกองงาม

ลำพู กันเสนาะ

ยุรี เกนสาคู

ลักษณ์ ใหม่สาลี

นักรบ มูลมานัส

ปรีชา รักซ้อน

ฟ้าวลัย ศิริสมพล

10 พฤศจิกายน 2566 – 11 กุมภาพันธ์ 2567 

 

ผู้คนในยุคสมัยแห่งอุตสาหกรรมกลัวเกรงความโดดเดี่ยวอย่างมากมายเสียจนเราเริ่มแก้ปัญหาอย่างผิดที่ผิดทาง เราเริ่มสร้างและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์จนเริ่มใช้งานได้จริงราว พฤศจิกายน 2565 เกิดเป็นกระแสและข้อห้ามมากมายแต่ผู้คนทั่วโลกพร้อมที่จะกระโจนล่องลงไปพร้อมกันอย่างแน่นขนัด คำถามคือผู้คนโดดเดี่ยวจนต้องสร้างจิตจำลองขึ้นมาเพราะอะไร นิทรรศการ spirit atlas นำเสนอภาพกว้างของสมมติฐานต่อคำถามดังกล่าวด้วยการสร้างภูมิลักษณ์ที่เป็นผลพวงจากวัฒนธรรมป๊อป ชัดเจนด้วยการเมืองและอำนาจของการมอง (gaze) ผ่านผลงานของศิลปินทั้ง 7 ท่าน ได้แก่ สันติภาพ อินกองงาม ลำพู กันเสนาะ ยุรี เกนสาคู ลักษณ์ ใหม่สาลี นักรบ มูลมานัส ปรีชา รักซ้อน และ ฟ้าวลัย ศิริสมพล ห้วงเหตุของการ“มอง”และเผชิญหน้าของการ”มอง” ที่ถูกบรรจุเอาไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ของอาตมัน(spirit)บนแผนภูมิกำเนิด(atlas)

 

การกำหนดพื้นที่และกรอบเวลาสำรวจของภูมิศาสตร์ทางวัฒนธรรมป๊อปที่ปรากฏในนิทรรศการนี้ ขีดเส้นย้อนกลับไปราวๆ 20 ปีที่ผ่านมา บนความแยบยลของยุคสมัย ร่างกายที่ได้จากการผลิตเชิงอุตสาหกรรมถูกลดทอนลงให้เหลือเท่าที่พอทาน ในขณะที่ความเร่งเพื่อเพิ่มโอกาสในการกระจายถูกดันจนสุดเพดาน ระยะกระจัดที่หายไปถูกทดแทนด้วยคำอธิบายเชิงการตลาด การออกแบบรูปลักษณ์ที่เป็นมิตรจึงเป็นข้อพึงมีของหลักการผลิต เพื่อให้ผลิตผลทางอุตสาหกรรมที่เดินเครื่องจักรแบบสุดกำลังถูกต้อนรับเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัวของผู้คนหมู่มาก ความแตกต่างบนความดาษดื่นแม้เพียง 15 นาที ในสายธารข้อมูลข่าวสารกลายเป็นโอกาสที่จะสร้างความมั่งคั่งเป็นอันมากให้แก่ผู้เข้าช่วงชิง “มูลค่าของการถูกมอง” ประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของการจ้องมองนี้เองยิ่งทำให้กระแสของข้อมูลข่าวสารทวีจำนวนอย่างไม่รู้จบ

  

สมการข้างต้นกลายเป็นอาตมันให้กับวัฒนธรรมป๊อปแห่งโลกที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบให้กับวิธีคิดของวัฒนธรรมป๊อปประจำถิ่นรวมถึงประเทศไทย ศิลปินไทยร่วมสมัยเฝ้าสังเกตการมาถึงของยุคสมัย และตอบสนองด้วยท่าทีของการวิพากษ์ พวกเขาจัดการกับสัดส่วนของมนุษย์ภายในงานศิลปะให้เสพกินง่ายขึ้น ท่าทีที่ดูประณีประนอมไม่คัดง้างต่อขื่อคานใดภายใต้รูปลักษณ์ที่สุดแสนพิเศษ รูปแบบการนำเสนอแนวคิดในผลงานอิงแอบไปกับกระแสการบริโภค พวกเขาจัดการกับคนหมู่มากด้วยการสร้างผลงานศิลปะบนอิทธิพลของตัวบุคคลอย่างอยู่มือ นักแสดงเหล่านี้กำลังจัดการกับการมองและมูลค่าของการมองให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่จะสร้างรสนิยมสาธารณะระรอกใหม่ 

การมองของผู้ชมที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ -ในขณะที่อ่านถึงตรงนี้- กำลังสร้างสถานการณ์ที่ทำให้เห็นภาวะชายขอบ(marginalized) ของบางสิ่งบางอย่างได้อย่างชัดเจนขึ้น ความชายขอบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้คน พื้นที่ และอาตมันในผลงานศิลปะที่ถูกจัดการตรงหน้า ความสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่าตราบเท่าที่ผู้ชมเดินต่อเพื่อชมผลงานชิ้นที่อยู่ถัด ๆ ไป การยึดเอาไว้ซึ่งข้อความของตัวตน ทั้งความเชื่อทางจิตวิญญาณประจำถิ่น ที่ปรากฏในผลงานของสันติภาพ อินกองงาม ตัวตนของคนธรรมดาต่อเหตุบ้านการเมืองรายวันของลำพู กันเสนาะ ผลงานจิตรกรรมฉูดฉาดและสดใสที่กำลังสะท้อนเงามืดของความไม่เท่าเทียมในผลงานของยุรี เกนสาคู ลักษณ์ ใหม่สาลี ท้าทายความหมายของลิขสิทธิ์และความเป็นต้นฉบับ การจัดการต่อข้อมูลประวัติศาสตร์และการเรียบเรียงภาพด้วยภาษาแบบวรรณกรรมของนักรบ มูลมานัส จิตรกรรมบันทึกการมีอยู่ของห้วงเวลาและวิธีการจดจำผู้คนใกล้ชิดของปรีชา รักซ้อน และท้ายที่สุด ผลงานของฟ้าวลัย ศิริสมพล นำเสนอภาพอนาคตของผู้คนที่ยังคล้องตรึงอยู่กับความเชื่อและรูปเคารพ ทำให้การมองไปยังอาตมันที่อยู่ตรงหน้ายิ่งชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ 

 

ผู้ชมจึงไม่เพียงได้มองแต่ได้เห็นในที่สุด และหากเสียง “ป๊อป” คือ การเลียนเสียงธรรมชาติ(onomatopoeia) อันเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากแรงดันที่ไม่เท่ากันภายนอกและภายใน ที่พาให้วัตถุนั้นสิ้นสุดแรงทนของตัวเองจนต้องแตกออก ความซับซ้อนที่แท้จริงของปฏิกิริยานี้อธิบายด้วยแรงรั้งของขนบที่มีอยู่มาก่อนด้วยความเฉื่อยมหาศาล ที่ไม่อาจรับมือความเร่งที่เป็นอนันต์ของความเปลี่ยนแปลงทางยุคสมัย 

-บทความบทนี้ไม่ใช้ chatbot - 

 

----------------------------------

 

spirit atlas

 

exhibition by

santiphap inkong-ngam

lampu kansanoh

yuree kensaku

luck maisalee

nakrob moonmanas

preecha raksorn, and fawalai sirisompol 

 

10 November 2023 – 11 February 2024 

 

People in the industrial era dread loneliness so intensely we’ve begun solving the issue in all the wrong ways. We were able to build and develop artificial intelligence to the point of practical application in November of 2022, becoming a global sensation that brought with it a multitude of ordinances, though that didn’t stop the world from collectively jumping in all at once. This phenomena raises a question: why are people so lonely that they’d create a synthetic mind? The ‘Spirit Atlas’ exhibition presents a wider view of the postulated theories meant to answer that question by creating a landscape that is the product of pop culture. Infused with pronounced political overtones and the power of the gaze, the exhibition presents the works of 7 distinguished artists including Santiphap Inkong-ngam, Lampu Kansanoh, Yuree Kensaku, Luck Maisalee, Nakrob Moonmanas, Preecha Raksorn, and Fawalai Sirisompol, an occurrence and confrontation of the ‘gaze’ that has been imbued in various forms of the spirit upon the atlas. 

The determination of the area and duration of a geological survey of pop culture that appears in this exhibition can be traced back through the past 20 years. Upon the ingenuity of the era, the body gained through industrial production is diminished to the bare minimum, while the acceleration of opportunities for distribution have been pushed to the ceiling. The displacement is filled by marketing-oriented explanations, with approachable designs becoming requisite for manufacturing, allowing the commercial products created by overtaxed machines to be welcomed into the private spaces of the mass public. The differences that abound even in a mere 15 minutes within the stream of information has become an opportunity to generate great wealth for those willing to seize “the value of the gaze”, with democracy and the sovereignty of the gaze themselves spurring the stream to multiply without end.    

The aforementioned equation has become the spirit of global pop culture, subsequently becoming the model for the reasoning of local pop culture, including that of Thailand. Thai contemporary artists study the arrival of an era and respond with a critical stance, adjusting the proportions of humans in art to become more welcoming. The outward obedience towards any established institutions under a wondrous form, the works presenting their concepts in a way that blends into the flow of consumerism. They deftly manage the masses by creating art upon the influence of individuals. These actors are manipulating the gaze and its value to bring about a phenomena that gives rise to a new wave of social norms.     

The gaze of the audiences facing us right now -as you read this sentence- is creating a situation that illuminates the marginalization of certain things. The exclusion that occurs from the relationship between people, space, and spirit within the art arranged in front of you, this relationship being borne again and again so long as audiences continue to look upon the next work of art. The preservation of the message of identity, from the local spiritual beliefs that appear in the work of Santiphap Inkong-ngam; the identity of the common man towards daily events in society in the work of Lampu Kansanoh; the brilliant and peppy painting that reflects the darkness of inequality by Yuree Kensaku; Luck Maisalee’s challenging of the definition of copyright and originality; the handling of historical data and composition of images using the language of literature by Nakrob Moonmanas; the painting that affirms the existence of moments and teaches us how to remember those close to us by Preecha Raksorn; and lastly, Fawalai Sirisompol’s work, which presents an image of the future where people are still attached to their faiths and effigies, allowing us to gaze upon the spirit in front of us all the more clearly.  

As such, not only will the audience be allowed to gaze, but to see. And if the voice of “pop” is an onomatopoeia that is the result of unequal pressures within and without until that object is shattered, the true complexity of this reaction is explained by the friction created by stagnant pre-existing traditions that fail to withstand the perpetual acceleration of the times.   

-This article wasn’t written by a ChatBot-

Poster_spirit atlas-A3.jpg
bottom of page