top of page

EGO-NOMIC: LIFE IN A PLASTICOSPHERE

 

นิทรรศการ โดย

อมร ทองพยงค์  อำพรรณี สะเตาะ  ชัญญา พิณจำรัส  ชัชวาลย์ ตะไนศรี  Chiang Mai Performance Art  DDMY STUDIO 

จิรันธนิน เธียรพัฒนพล  คามิน เลิศชัยประเสริฐ  ขวัญพิชชา กองแสง  Pietro Lo Casto  ธิติ จิ๋วสกุล  เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล และ  วรพจน์ กองเงิน

 

คัดสรร โดย Rushdi Anwar และ พลอย เจริญผล

 

นิทรรศการ EGO-NOMIC: LIFE IN A PLASTICOSPHERE  คัดสรรผ่านมุมมองของ Rushdi Anwar และ พลอย เจริญผล โดย 12 ศิลปิน และ 1 กลุ่มศิลปินสื่อแสดงสด จัดแสดงผลงานที่มีจุดร่วมในประเด็นของอากาศและสิ่งแวดล้อมโดย อมร ทองพยงค์  อำพรรณี สะเตาะ  ชัญญา พิณจำรัส  ชัชวาลย์ ตะไนศรี  Chiang Mai Performance Art  DDMY STUDIO  จิรันธนิน เธียรพัฒนพล  คามิน เลิศชัยประเสริฐ  ขวัญพิชชา กองแสง  Pietro Lo Casto  ธิติ จิ๋วสกุล  เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล และ  วรพจน์ กองเงิน จากความร่วมมือของ สภาลมหายใจเชียงใหม่ และ โครงการ ART for AIR

อุปมานิทัศน์ ‘everybody who leaves the cave sees the same light’ โดย Plato เป็นวลีที่กล่าวถึงสถานการณ์สมมติหากแต่เป็นแนวคิดที่ช่วยเรียบเรียงถึงเหตุของผล ตำแหน่งแห่งที่อันเกิดจากระนาบอันแบนราบของการจ้องมองเงาของตัวเองที่ทาบทับอยู่บนผนังถ้ำอันขรุขระ ห่างออกมาจากทางเข้าที่แสงลอดเลื้อยเข้ามาด้านใน บางคนจ้องมองและเชื่อในสิ่งที่เห็นตรงหน้า บางคนหันหลังกลับเพื่อพบกับแสงอันเป็นต้นกำเนิดของเงา ผู้ที่ละทิ้งที่อยู่ประจำเพื่อออกไปยังที่ที่มีแสงสว่างจ้าด้านนอก บางคนกลับเข้าไปและบางคนไม่เคยกลับมาอีกเลย และยังมีบางคนที่ยังคงจดจ้องยืนอยู่ ณ ธรณีประตู มองดูสังเกตสังกากลุ่มคนที่ยังคงกระทำกิจวัตรอยู่ภายใน  ประวัติศาสตร์ของ ‘คน’ เริ่มต้นต้นขึ้นเมื่อเราเริ่มบันทึกเรื่องราวผ่านตัวอักษรจริงหรือ? เป็นเวลานานอย่างมากก่อนหน้านั้นที่คนเริ่มประหัตประหารต่อกรกับธรรมชาติด้วยการเดินทางและการย้ายถิ่นฐาน คนเริ่มนำพาตัวเองไปสู่จุดที่อยู่เหนือกว่าธรรมชาติด้วยการออกแบบเครื่องมือและการบริหารจัดการที่ถูกเรียกในเวลาต่อมาว่า ชุมชน และเติบโตขยายต่อไปสู่ เมือง ความคิดของคนซับซ้อนขึ้นจากการจัดการไฟ จนสามารถพัฒนาสู่สิ่งที่ซับซ้อนขึ้นอีกขั้นของความคิดเมื่อคนสร้างสิ่งสมมติที่ใช้ในการบริหารจัดการเมืองและคนด้วยกันเองมาครอบพวกเขาเอาไว้อีกชั้น เส้นทางการเดินทางของคนจึงไม่เพียงเป็นการต่อกรกับธรรมชาติแต่มากขึ้นจนเป็นความควบคุมที่ขับด้วยแรงปรารถนาที่จะไปสู่ utopia ที่มีขอบเขตชายแดน

ในชั่วพริบตา เขตแดนเหล่านั้นทาบต่อกันสนิท ทุก ๆ พื้นที่บนโลกทรงกลมไม่สมบูรณ์ถูกควบคุมโดยสมบูรณ์โดยคน ผู้คนต่างรับรู้ข่าวสารของกันและกันในเสี้ยววินาที และเดินทางไปมาหาสู่กันอย่างอิสระ เส้นทางการย้ายถิ่นจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ไม่เพียงเพื่อหนีจากที่ที่ควบคุมธรรมชาติได้น้อยกว่า แต่เป็นการมองหาที่หมายที่ควบคุมทุกอย่างได้ดังใจนึก คนบางกลุ่มกลับสะท้อนภาพฝันของ utopia เอาไว้ด้วยจุดจบของคนเอาไว้คล้ายคลึงกันทั้งที่ปรากฏในภาพยนตร์  The Matrix และ Wall-E  ผู้ชมเริ่มมองดูฉากเริ่มต้นอันแสนธรรมดาแต่ความธรรมดาที่คุ้นชินตานั้นวางอยู่บนภาพเมืองที่ล่มสลาย ปราศจากซึ่งสิ่งมีชีวิตอื่นใด คงเหลือเอาไว้แต่คนที่ยังคงพยายามเอาชีวิตรอดไปวันต่อวันอย่างยากลำบาก พันธนาการที่ธรรมชาติเชื่อมต่อกับคนถูกตัดขาดมานานแสนนาน  แม้จะมีความพยายามในการประสานสายธารนี้ให้กลับมาเชื่อมต่อกันอีกครั้ง แต่สิ่งที่คนกำลังพยายามทำเพื่อ ‘แก้ปัญหา’ เป็นการนั่งมองเงาของตัวเองที่ทาบทับบนผนังถ้ำอันขรุขระ การหันไปเจอที่มาของแสง การยืนอยู่ที่ปากถ้ำ หรือการเดินออกไปสู่แสงสว่างเหล่านั้นกันแน่ นิทรรศการ EGO-NOMIC: LIFE IN A PLASTICOSPHERE เป็นนิทรรศการต่อเนื่องจากนิทรรศการ Informative to Transformative โดย Jing Jai Gallery ที่พูดถึงปัญหาของฝุ่นควันและสิ่งแวดล้อมด้วยการมองถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติผ่านวัฒนธรรมที่เรียกว่าเมือง เพื่อมองถึงจุดยืนในการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา และพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาฝุ่นควันและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและตรงจุด

Jing Jai Gallery ภูมิใจเสนอนิทรรศการกลุ่มที่มีจุดร่วมบนความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม จุดหยัดยืนของมนุษย์ และ ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกี่ยวโยงมนุษย์และธรรมชาติเอาไว้ด้วยกัน ร่วมมองหาเส้นทางอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ของนิทรรศการ EGO-NOMIC: LIFE IN A PLASTICOSPHERE ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2566 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 10:00 – 17:00 น. และ วันเสาร์ และ อาทิตย์ เวลา 08:00 – 17:00 น. เข้าชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีกิจกรรมเสวนา “ศิลปะการแก้ไขมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน” โดยผู้ร่วมเสวนาได้แก่ รศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม (อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย) อ.ไพสิฐ พาณิชกุล (อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) อ.สุรชัย ตรงงาม (มูลนิธินิติธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม) คุณพฤ โอโดเชา (ปราชญ์ชาวบ้านชนเผ่าปกากะญอ)คุณธารา บัวคำศรี (ผู้อำนวยการกรีนพีช ประเทศไทย) อ.ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ (ประธานสภาลมหายใจ เชียงใหม่) และ คามิน เลิศชัยประเสริฐ (ศิลปิน ART for AIR) เป็นผู้ดำเนินรายการ) และเปิดนิทรรศการอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มีนาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 18:00 น. เป็นต้นไปโดย รองผู้ว่าราชการจังหวัด คุณศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช  ณ จริงใจแกลเลอรี ภายในโครงการจริงใจมาร์เก็ต ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล

The EGO-NOMIC: LIFE IN A PLASTICOSPHERE exhibition is a selection of works from 12 artists and one art collective curated by Rushdi Anwar and Ploy Charoenpol, with the diverse catalog united under thesubject matters of air pollution and the environment. These artists include Amorn Thongpayong, Ampannee Satoh, Chanya Phinchamras, Chatchawan Tanaisri, Chiang Mai Performance Art, DDMY STUDIO, Jiranthanin Thianpatthanpol, Kamin Lertchaiprasert, Kwanphitcha Kongsaeng, Pietro Lo Casto, Thiti Jiewsakul, Ruengsak Anuwatwimol, and Worapoth Kongngern, from the collaboration between Chiang Mai Breath Council and ART for AIR.

 

The saying by Plato goes: ‘everybody who leaves the cave sees the same light’, a phrase that refers to an imagined scenario used to demonstrate a line of logic: There are several men inside a cave, the light shining through its entrance casting the men’s shadow across the rough cavern walls. Turning towards the light, the source of the shadows, some men are able to leave their familiar surroundings to explore the brighter world outside. Some return to the cave, some are never seen again, while others yet remain at the threshold to the outside world, looking back upon the daily lives of those who remain with clearer perspectives. Did the history of ‘man’ actually begin with our invention of written language? Humanity has been locked in conflict with nature for far longer than that through migration and travel. Our advantage was secured through the designing and managing of what would later be known as communities, gradually expanding into cities. Human thought became more complex as a result of our mastery of fire, eventually resulting in an even more complex modern society, as humans developed imaginary frameworks for city management to contain themselves. As such, the movements of mankind are not only challenges issued towards nature but have grown to become a desire for control driven by the pursuit of an ideal and borderless utopia.

 

Once all borders have faded and blended into one another, every corner of the world is made privy to the challenges of each other, with free travel anywhere. The constant migration in search of areas where nature can be more readily manipulated has evolved into the search for a place where everything is under control in the current era. Certain groups of people have reflected the end of humanity in similar ways, from The Matrix to Wall-E, as audiences are introduced to both with images of mundanity amidst a backdrop of civilizational collapse, devoid of any form of life beyond what remnants of humanity continue to struggle for survival. The shackles that bind man to nature have been severed for too long. Noble attempts have been made to reforge that connection once more, but are the things being done in the pursuit of a ‘solution’ akin to looking back upon one’s shadow on the rockface, turning back towards the light, lingering upon its entrance, or leaving the cave entirely?

 

The EGO-NOMIC: LIFE IN A PLASTICOSPHERE exhibition is another effort by Jing Jai Gallery in discussing the issues of smog pollution and the environment by looking at the relationship between humans and nature through the culture we know as ‘cities, to establish a standpoint capable of addressing the issue head-on, while also considering our participation in being part of alleviating the issue in a sustainable and efficient manner.

Poster_ok-3.jpg
bottom of page